เคยไหมครับ พูดตั้งนาน คนฟังไม่เข้าใจเราสักที
เคยไหมครับ อธิบายยังไง หัวหน้าท่านก็ไม่เข้าใจ ทั้งๆที่ข้อมูลเราก็แน่นมาก
วันนี้ผมมีเรื่องคอมพิวเตอร์ จะเล่าให้ฟัง
------------
ถ้าผมอยากซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่อง
แล้วเพื่อนๆ เป็นคนขาย จะทำยังไงให้ผมซื้อครับ.….
.
(ลองคิดดูสนุกๆ สัก 0.5 วินาทีนะครับ)
.
.
เซลล์แมนคนที่ 1
รุ่นนี้เป็นแบบ AMD Dual-Core A-Series processor
(หืมม โอ้ชื่อเท่ห์ดี)
และเป็น Dual Core with Radeon HD 8180 Graphics
(เห ตกลง ไอ้ คอๆ มันคืออะไรหว่า?)
นอกจากนี้เรายังมีเทคโนโลยีใหม่ นั่นคือ ENERGY STAR qualified เป็นการทำงานที่ประหยัดพลังงานที่สุด
(อื้ม แล้วยังไงหว่า?)
บลา ๆ ๆ
.
.
เซลล์แมนคนที่ 2
รุ่นนี้นะครับ พี่สามารถรัน 10 โปรแกรมได้พร้อมๆ กัน
(เอ่อ เข้าท่า)
คือ พี่จะเล่น FB, ดูหนัง, โหลดบิท, เล่นเกมส์, ฟังเพลงคลาสสิก และทำอีก 4-5 อย่างพร้อมกันได้ โดยเครื่องยังเร็วปรื้ด...อยู่เหมือนเดิมครับ
(ใครจะไปทำแบบนั้นพร้อมกันฟร่ะ! แต่เยอะไว้ก่อนก็ดี)
นอกจากนี้ ยังเล่นได้ไม่กลัวร้อน เครื่องเย็นเฉียบ
แบตเตอรี่ก็ใช้ได้นาน 2 วันเต็มๆ
แล้วก็ …
(พอแล้ว ๆ ๆ ๆ ผมซื้อคุณแล้ว!)
----------
ประเด็น คือ
เวลาสื่อสาร ไม่สำคัญว่าเรารู้อะไร
สำคัญที่ว่า “คนฟังอยากรู้อะไร”
เช่น เรื่องคอมพิวเตอร์ ผมไม่อยากรู้หรอก ว่าเป็น 1, 2, 3, หรือ 10 คอร์
ผมอยากรู้ว่าจะ “ใช้งาน” ได้ยังไงมากกว่า
ในเรื่องการทำงานก็เช่นกัน
บางครั้งข้อมูลเราดีมากๆ แน่นปึ๊ก แต่ทำไม หัวหน้าไม่เข้าใจเราสักที
หัวหน้าไม่ค่อยฉลาด
หรือ เรากำลังเป็นแบบเซลล์แมนคนที่ 1 หว่า? …
.
ลองดูนะครับ
ฝึกสังเกตว่า “ผู้ฟังอยากรู้อะไร”
แล้วก็ค่อย สื่อสาร สิ่งนั้นออกไป
อรุณสวัสดิ์ครับ
Un+ Chirdpong (อั๋น เชิดพงษ์)
-----------------
"Sometime you don't need too much. All you need is just enough"
Jim Rohn